หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

nice xD


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส




วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ



วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

ความขยันหมั่นเพียร

2. ความขยันหมั่นเพียร



หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่การงานและการประกอบอาชีพที่สุจริตอย่างกระตือรือร้น และตั้งใจจริงให้สำเร็จด้วยความมานะอดทน



สำหรับการปลูกฝังและสร้างเสริมเรื่องความขยันหมั่นเพียรในระดับมัธยมศึกษา ต้องการมุ่งเน้นให้นักเรียนมุ่งมั่นทำงานในหน้าที่ของตนเองให้ประสบความสำเร็จ มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น ใช้เวลาว่างศึกษาหาความรู้อยู่เป็นเนืองนิจ ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถและความชำนาญในงานที่สุจริตเป็นประโยชน์ต่อสังคม



ความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน



หมายถึง การที่นักเรียนมีความรัก ความตั้งใจมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนไม่ท้อแท้แม้บางครั้งบทเรียนนั้นจะยาก หรือมีอุปสรรคต่างๆบางอย่างบ้างก็มานะทำจนสำเร็จ เมื่อมีเวลาว่าก็ใช้เวลานั้นให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียนของตนโดยอ่านหนังสือศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆเพิ่มเติม ทบทวนบทเรียนมาล่วงหน้าทุกครั้ง เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยด้านการเรียนก็พยายามศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องเพื่อคลี่คลายปัญหาของตนอยู่เสมอ



อิทธิบาท 4 คือ เครื่องให้ถึงความสำเร็จตามความประสงค์ 4 อย่าง หรือหลักความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม อิทธิบาทมี 4 ประการ คือ



1.ฉันทะ คือ ความพอใจในการศึกษาเล่าเรียน



2. วิริยะ คือ ความเพียรประกอบการศึกษาเล่าเรียน



3.จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ในการศึกษาเล่าเรียนอย่างสม่ำเสมอ



4. วิมังสา คือ หมั่นตริตรองหาเหตุผลในการศึกษาเล่าเรียนนั้นให้พัฒนาดีขึ้น



ครูเขียนข้อความลงบนกระดาษหรือชาร์ท เพื่อเร้าความสนใจ



ข้อความ



ถ้าหมั่นเพียร เรียนอะไร ก็ต้องรู้



ถ้าหมั่นดู ดูอะไร ก็ต้องเห็น



ถ้าหมั่นทำ หมั่นแต่ทำ จักจำเริญ



- ครูถาม “นักเรียนเคยทำอะไรบ้างที่แสดงถึงความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน” ครูสุ่มคำตอบของนักเรียนประมาณ 4 – 5 คน อ่านให้นักเรียนฟัง



- ครูชมเชย แนะนำและชี้แนะนักเรียน



การเอาใจใส่ต่อการเรียน หมายถึง การที่นักเรียนมีความรัก ความตั่งใจมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียน ตั้งใจฟังครูสอนไม่ฟุ้งซ่าน หรือนั่งหลับ แม้เลิกเรียนกลับบ้านก็เอาใจใส่ทบทวนบทเรียนที่เรียน คอยหมั่นตรวจตราว่า ครูสั่งให้ทำการบ้านอะไรบ้าง ตั้งใจทำงานที่ครูสั่งให้เรียบร้อย นักเรียนที่เอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียนเช่นนี้ จะเรียนหนังสือได้ดี ไม่ย่อท้อแม้บางครั้งบทเรียนนั้นจะยาก หรือมีอุปสรรคต่างๆบางอย่าง ก็มานะจนสำเร็จ เมื่อมีเวลาว่างก็ใช้เวลานั้นให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียนของตนโดยอ่านหนังสือศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติมทบทวนบทเรียนที่เรียนทุกวัน และเตรียมตัวศึกษาบทเรียนที่เรียนมาล่วงหน้าทุกครั้งเมื่อมีปัญหา หรือชข้อสงสัยด้านการเรียนก็พยายามศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อคลี่คลายปัญหาของตนเองอยู่เสมอ



ความขยันหมั่นเพียรไม่ว่าจะเป็นความขยันหมั่นเพียรชนิดใดย่อมจะทำให้ผู้นั้นเป็นบรรลุผลสำเร็จแต่ความขยันขันแข็งดังกล่าวมานี้ควรจะมีจุดหมายแห่งชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย เพราะการมีจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตนั้นจะทำให้พลังแห่งความขยันขันแข็งมีความรุนแรงขึ้น การขยันขันแข็งที่ดีนั้นควรจะเป็นความขยันขันแข็งทั้งเฉพาะหน้าและอนาคตไปพร้อมๆกัน ความขยันขันแข็งทีเกิดจากการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นมีอิทธิพลและพลานุภาพรุนแรงกว่าความเห็นแก่ตัวหรือทำให้ตนเองร่ำรวยเป็นเศรษฐีขึ้น เพราะบุคคลที่ขยันขันแข็งด้วยความเห็นแก่ตัวเหล่านี้ไม่เห็นมีใครสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ ไม่เห็นมีใครยกย่องสรรเสริญ ไม่เห็นมีใครกล่าวถึง แต่บุคคลที่โลกสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้นั้น เช่น อนุสาวรีย์ของลินคอล์น อนุสาวรีย์ของพระพุทธยอดฟ้า พระเจ้าตากสินมหาราช พระนเรศวรมหาราช ฯลฯ เกิดจากความขยันขันแข็งของบุคคลดังกล่าว



ท่านมีความปรารถนาจะเป็นมหาบุรุษ หรือมหาเศรษฐีหรือไม่ก็ตาม แต่ท่านจะลืมมิได้ว่าท่านจะต้องเป็นคนขยันในการทำงาน ท่านต้องอดทนต่อการทำงาน ท่านต้องทำงานให้เต็มความสามารถที่สุดด้วย การใช้วิจารณญาณให้รอบคอบ อย่าเลือกงาน งานหนักต้องเอา งานเบาต้องสู้ อย่าหลีกเลี่ยง จงตั้งหน้าตั้งตาทำมันเถิด เพราะความขยันขันแข็งได้เป็นเครื่องพิสูจน์โดยแน่ชัดว่า “ได้สร้างความเป็นมหาบุรุษและเศรษฐีของโลกมาแล้วทั้งปัจจุบันและอนาคต”



แนวปฏิบัติตนเองเพื่อให้เป็นคนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน ผู้เรียนจะต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม มีการจัดเวลาสำหรับอ่านหนังสือทบทวนบทเรียน ขณะเดียวกันควรมีเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้นด้วย เช่น กิจกรรมกีฬา กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมหารายได้ระหว่างเรียน ฯลฯ เพราะกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพและช่วยพัฒนาในด้านต่างๆทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การเคร่งเครียดแต่เฉพาะการเรียนจะช่วยพัฒนา แต่เฉพาะสมอง ส่วนอื่นๆไม่ได้รับการพัฒนา ดังที่มักเรียกว่าเป็นคนสมองโต ตัวลีบ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ควรทุ่มเทต่อกิจกรรมต่างๆมากเกินไปหรือไม่ก็มุมมานะดูหนังสือเฉพาะแต่เวลาใกล้สอบ ดังนั้นจึงควรรู้จักวางแผนตัวเองให้ดี เพื่อจะได้เป็นคนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน



ความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติงานของตนเอง หมายถึง การที่นักเรียนมีความตั้งใจที่จะทำงาน ศึกษางาน ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถ ความชำนาญ ในงานที่เกี่ยวกับตนเองในด้านอาหาร (เช่น พยายามฝึกหัดปรุงอาหารรับประทานเอง ฯลฯ ) ที่อยู่อาศัย เช่น (พยายามหัดดัดแปลง ตกแต่ง ซ่อมแซมและรักษาความสะอาดเป็นประจำ ) เครื่องนุ่งห่ม (เช่น พยายามซ่อมแซม ดัดแปลง และซักรัดอยู่เสมอ) ใช้เวลาว่างศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในงานดังกล่าวอยู่สม่ำเสมอ และคิดสร้างสรรค์งานอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง



ความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อจะให้ตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตสามารถสร้างฐานะได้มั่นคงได้ จำเป็นจะต้องมีหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต เช่น



- มีการตั้งเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายไว้ชัดเจน



- มีความกระตือรือร้นและเพียรพยายามที่จะก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย



- สนใจใฝ่หาความรู้และประสบการณ์อยู่เสมอเพื่อนำมาพัฒนางานอาชีพของเรา



- พยายามศึกษาหรือแบบอย่างปฏิบัติตามจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต



- ต้องมีความอดทนไม่ย่อท้อในอุปสรรคต่างๆ



ความขยันหมั่นเพียรในงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคม หมายถึง การที่นักเรียนมีความรัก ความตั้งใจทำงานสุจริตและเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีความกระตือรือร้นที่จะทำงานดังกล่าว มาทำงานทุกครั้งด้วยความเต็มใจ และปรารถนาดี ไม่เลือกงานหรือรังเกียจงานโดยยึดถือวัตถุ (เงิน สถานที่) หรือตัวบุคคล พยายามคิดศึกษาและสร้างสรรค์งานที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมหรือชุมชนอยู่เสมอ สังคมหรือชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเราที่จะต้องมีการอยู่ร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยกันอยู่เสมอเพราะเรามาสามารถอยู่ตามลำพังได้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญมีความจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ ต้องมีความขยันช่วยงานของสังคมและชุมชนไม่ทำตัวเป็นส่วนเกินของสังคม ทั้งนี้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนของเราให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางวัตถุและจิตใจ อีกทั้งให้มีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกัน







หอไอเฟล


สมุนไพรไล่ยุง

สมุนไพรไล่ยุง และวิธีทำสมุนไพรไล่ยุง มีมากมายดังนี้




สะระแหน่



ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha arversis



ลักษณะ สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาด หัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม



ส่วนที่ใช้ ใบ



วิธีใช้ ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรง



กระเทียม



ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum



ลักษณะ กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อ บางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อเล็กๆ สีขาวรวมกันเป็นกระจุก อยู่ที่ปลายก้านดอก



ส่วนที่ใช้ หัว



วิธีใช้ นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้



กะเพรา



ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanotum



ลักษณะ กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่ นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหมู



ส่วนที่ใช้ ใบ



วิธีใช้ ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออก มาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถูที่ ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อน ข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้ง



ว่านน้ำ



ชื่อวิทยาศาสตร์ Acorus calamus



ลักษณะ ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้า เป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียว



ส่วนที่ใช้ เหง้า



วิธีใช้ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง



แมงลัก



ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum citratum



ลักษณะ แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง



ส่วนที่ใช้ ใบ



วิธีใช้ ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง



ตะไคร้หอม



ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus



ลักษณะ ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและ ลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอย



ส่วนที่ใช้ ต้นและใบ



วิธีใช้ นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้นมา ทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วย ไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้

น้ำส้มคั้น^^

น้ำส้ม


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา



น้ำส้มน้ำส้ม คือน้ำผลไม้ที่คั้นมาจากผลส้มตามชื่อ เป็นน้ำผลไม้ที่มีคนนิยมดื่มมาก เพราะเตรียมง่าย และให้คุณค่าทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีวิตามินซีสูง



[แก้] การเตรียมน้ำส้ม

น้ำส้มคั้น

การเตรียมน้ำส้มนั้น ปกติแล้วน้ำส้มคั้นจะใช้ส้มเขียวหวานผลใหญ่ เพราะส้มเขียวหวานผลใหญ่จะให้น้ำส้มที่มีรสชาติหวาน สามารถคั้นเอาน้ำรับประทานได้ทันที หรือจะเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้ เมื่อเตรียมเสร็จแล้วเทใส่แก้วพร้อมเสิร์ฟ (ปกติแล้วแก้วที่ใส่จะเป็นแก้วเปล่าไม่ใส่น้ำแข็งเพราะน้ำส้มจะมีรสหวานอ่อนๆ ถ้าเติมน้ำแข็งลงไปอีกจะทำให้น้ำส้มจืดเสียรสชาติ)

น้ำส้มปั่น

ส้มที่ใช้ในการทำน้ำส้มปั่นจะใช้ส้มเขียวหวานผลเล็ก (หรือที่ภาษาตลาดเรียกว่าส้มคั้นน้ำ) ส้มดังกล่าวจะให้น้ำส้มที่มีรสออกเปรี้ยว สาเหตุที่ใช้ส้มเปรี้ยวในการปั่นเพราะถ้าใช้น้ำส้มที่มีรสหวานอ่อนๆ จากธรรมชาติมาปั่นรวมกับน้ำแข็งจะทำให้ได้น้ำส้มที่มีรสจืดตามที่ได้บอกไว้ในข้างต้น น้ำส้มปั่นสามารถทำได้โดยคั้นน้ำส้มจนได้ปริมาณตามต้องการ จากนั้นเทใส่เครื่องปั่นที่ใส่น้ำแข็งไว้ จากนั้นเติมน้ำเชื่อมกับเกลือ แล้วปั่นประมาณ 30 วินาทีจะได้น้ำส้มปั่นตามต้องการ

ปกติในร้านอาหารหรือภัตตาคารมักจะเสิร์ฟน้ำส้มคั้นโดยเทใส่แก้วใสพร้อมกับมีชิ้นส้มหั่นแว่น 1 แว่นเหน็บอยู่ที่ปากแก้ว

กำแพงเมืองจีน~!!


กำแพงเมืองจีน
กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม: 長城; จีนตัวย่อ: 长城; พินอิน: Chángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ




กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม: 萬里長城; จีนตัวย่อ: 万里长城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้

กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นในระยะเวลา 4 ช่วงหลัก ๆ ดังนี้




พ.ศ. 338 (ราชวงศ์ฉิน) 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

พ.ศ. 443 (ราชวงศ์ฮั่น)

พ.ศ. 1681 - 1741 (สมัย 5 ราชวงศ์ 10 อาณาจักร)
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก


กำแพงเมืองจีนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา[2] ดังนี้



(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด

(ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

(vi) - มีความคิดและความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์


พ.ศ. 1911 - 2163 (รัชสมัยจักรพรรดิหงอู่ ต้นราชวงศ์หมิง)